random post

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เริ่มต้นเพาะกาย

     เมื่อเราเริ่มต้นเพาะกายอันดับแรกที่ต้องจำไว้เสมอก็คือ ต้องบริหารโดยให้มีแรงต้าน ซึ่งแรงต้านนั้นก็ไม่ใช่อะไรที่ไหนมันคือดัมเบลหรือลูกน้ำหนักนั่นเอง  สมติว่าเราจะบริหารกล้ามเนื้อไบเซบ เราก็ต้องใช้ดัมเบลล์หรือบาร์เบลล์เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อส่วนไบเซบนี้ ยิ่งดัมเบลล์หรือบาร์เบลล์มีน้ำหนักมากกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็จะได้รับแรงต้านมากเท่านั้น คงไม่มีนักเพาะกายคนไหนที่ยกแขนเปล่าๆแล้วทำให้กล้ามเนื้อไบเซบใหญ่โตขึ้นมาได้

จำนวนครั้งและจำนวนเซ็ท(Reps&Sets)
     ในการบริหาร เราเรียกการยกน้ำหนักว่าจำนวนครั้ง (Reps) และกลุ่มของจำนวนครั้งเรียกว่าเซ็ท(Sets)
โดยในการบริหารนั้นส่วนใหญ่จะบริหารให้ได้ 8-12 ครั้ง ต่อหนึ่งเซ็ท และบริหารท่าละประมาณ 4 เซ็ท

การพักระหว่างเซ็ท
     ในระดับเริ่มต้นเราควรจะพักระหว่างเซ็ทแค่เพียง 30-60 วินาที ไม่ควรเกินกว่านั้น

ตารางฝึก
     สำหรับตารางฝึกนั้นมีอยู่หลายแบบ มีทั้งแบบฝึกสามวันพักหนึ่งวันหรือฝึกห้าวันแล้วพักหนึ่งวัน
ตัวอย่าง ตารางฝึกแบบสามวันพักหนึ่งวัน
วันที่      กล้ามเนื้อที่บริหาร
  1.        หน้าอก ,บ่า ,ไทรเซบ ,น่อง
  2.        ปีก ,ไบเซบ ,แขนท่อนปลาย ท้อง
  3.        ต้นขาด้านหน้า ,ต้นขาด้านหลัง น่อง
  4.        พัก
             กล้ามท้องและกล้ามน่อง จะบริหารสลับกันวันเว้นวัน

ตัวอย่าง ตารางฝึกแบบห้าวันพักหนึ่งวัน
วันที่      กล้ามเนื้อที่บริหาร
  1.        หน้าอก ,ไทรเซบ ,กล้ามท้อง
  2.        ต้นขาด้านหน้า ,ต้นขาด้านหลัง ,น่อง
  3.        ปีก ,ไบเซบ ,แขนท่อนปลาย ,กล้ามท้อง
  4.        บ่า ,น่อง
  5.        พัก

การพักฟื้นกล้ามเนื้อ
     ในการเพาะกายนั้นเราจำเป็นต้องพักฟื้นกล้ามเนื้อเพื่อให้มันกลับคืนสภาพเดิม หากเรารู้สึกว่าเหนื่อยล้ามากเป็นพิเศษเราอาจจะพักมากกว่าหนึ่งวันก็ได้เพื่อให้กล้ามเนื้อของเราได้พักฟื้นอย่างเต็มที่จะได้มีแรงบริหารในวันต่อไป

Free weight
    คือบาร์เบลล์และดัมเบลล์ สำหรับผู้เริ่มต้นเพาะกายควรที่จะใช้ Free weight มากกว่าไปพึ่งเครื่อง Machine ต่างๆ

เทคนิคพื้นฐาน         
1.ทำให้เต็มระยะทาง - ในแต่ละครั้งที่บริหาร ต้องเริ่มจากจุดที่เหยียดกล้ามเนื้อตึงที่สุด เดินทางไปจุดที่กล้ามเนื้อหดตัวที่สุดเช่นกัน อย่ายกเพียงแค่สามในสี่ อย่างเด็ดขาด และเมื่อถึงจุดที่กล้ามเนื้อหดตัวมากที่สุด เราต้องเกร็งกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลาประมาณ 2 วินาทีด้วย
2.ควบคุมการเคลื่อนไหวให้ได้ - ควรเรียนรู้ และฝึกฝนการยกน้ำหนักให้ถูกต้องเสียตั้งแต่เริ่มต้น แล้วรักษาทักษะนี้ไปตลอดชีวิตการเพาะกายของเรา การยกให้ถูกต้องคือ การเคลื่อนไหวลูกน้ำหนักทุกๆครั้ง และทุกๆเซท ต้องทำช้าๆ และอยู่ในความควบคุมของกล้ามเนื้อ ห้ามเหวี่ยงลูกน้ำหนักเด็ดขาด อย่าทำให้คนอื่นประทับใจโดยใช้น้ำหนักที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้ต้องเหวี่ยงตัวช่วยเวลายก
3.ห้ามโกง - คำว่าโกงในการเพาะกายหมายถึง การใช้การเหวี่ยงตัว เอี้ยวตัว เด้งตัวฯลฯ เพื่อให้ลูกน้ำหนักเคลื่อนที่ จากนั้นก็อาศัย "แรงเฉื่อย" เพื่อยกน้ำหนักจนจบในครั้งนั้นๆ    ที่ถูกแล้ว ในการเคลื่อนลูกน้ำหนัก เราต้องใช้กล้ามเนื้อเฉพาะส่วนที่เราตั้งใจจะบริหารเท่านั้น โดยไม่ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่น หรือโมเมนตัมเข้าช่วย
4.เพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อ - จงทำความรู้สึกในขณะเล่นกล้ามว่า เรากำลังเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อตลอดเวลาที่ยกขึ้นลง ไม่ต้องสนใจความหนักของลูกเหล็กในมือ
5.บริหารจนหมดแรง - คำว่าหมดแรงในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงว่าต้องทำให้เหน็ดเหนื่อยอย่างสาหัส ความหมายของมันคือ ในแต่ละเซทที่ทำ เราต้องทุ่มแรงหมดตัว จนไม่สามารถจะยกลูกเหล็กในเซทนั้นต่ออีกได้แม้เพียงครั้งเดียว แล้วจึงพักเซท

เอาละครับเมื่อเรารู้พื้นฐานกันแล้วในบทต่อไปเราจะไปลุยกันที่โรงยิมเลยดีกว่า
credit : tuvayanon

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ยินดีต้อนรับ นักเพาะกาย เล่นกล้าม ทุกท่าน

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จะลดหน้าท้องด้วยวิธีไหนดี

หากพูดถึงกล้ามท้องหลายๆคนคงต้องนึกถึงการซิทอัพเป็นแน่แท้ แต่นั่นอาจได้ผลดีกับคนที่ไม่ไม่หน้าท้องหรือพุงนั่นเอง แล้วสำหรับคนที่มีหน้าท้องเต็มไปด้วยไขมันสะสมมาแรมเดือนแรมปีจนไขมันแทบจะทะลักออกมาละจะทำยังไงให้ไขมันเหล่านั้นลดลงไป คำตอบไม่ใช่การซิทอัพเพียงอย่างเดียวแน่นอนเพราะการซิทอัพจะทำให้หน้าท้องของคุณแข็งแรงแต่ไม่ได้ช่วยให้คุณลดไขมันส่วนหน้าท้องลงได้
          คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ การเพาะกายครับ ทำไมผมถึงแนะนำว่าการเพาะกายสามารถช่วยให้หน้าท้องคุณกลับมาแบนราบและสวยงามได้อีกครั้ง นั่นเป็นเพราะว่ากีฬาเพาะกายนั้นเป็นการใช้พลังงานในร่างกายแตกต่างจากการที่คุณไปวิ่งซึ่งการวิ่งจะใช้ออกวิเจนมาสร้างพลังงาน
          แล้วมันแตกต่างกันยังไงละ
การเพาะกาย ยกลูกเหล็กลูกน้ำหนักเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและใหญ่โตโดยใช้พลังงานจากร่างกายของเรา(ไขมัน) ทุกครั้งที่ออกแรงยกน้ำหนักร่างกายก็จะนำพลังงานมาใช้ หลังจากที่เราบริหารเสร็จการเผาผลาญไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ ร่างกายยังคงเผาผลาญพลังงานเหล่านั้นต่อไปเรื่อยๆ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้การเพาะกายสามารถลดไขมันได้ดีและยั่งยืนกว่าการทำ arobic
arobic หมายถึงการออกกำลังกายโดยใช้ออกวิเจนมาสร้างพลังงาน เช่นการวิ่ง ปั่นจักยาน เต้นแอโรบิก  เมื่อคุณหยุดกสรบริหารเมื่อใดร่างกายก็จะหยุดเผาผลาญเมื่อนั้น คือเมื่อคุณวิ่งไปครึ่งชั่วโมงร่างกายก็จะเผาผลาญไปครึ่งชั่วโมงเท่านั้นไม่มีการเผาผลาญพลังงานต่อไปเหมือนการเพาะกาย

เมื่อเรารู้แล้วว่าจะต้องลดไขมันด้วยวิธีไหน ในบทต่อไปเราจะมาพูดกันถึงเรื่องเริ่มต้นเพาะกายกันครับ

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่คุณจะได้รับจากกีฬาเพาะกาย

ในบทความที่แล้วเราได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของกีฬาเพาะกายกันไปแล้ว  ในบทนี้ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือจับลูกเหล็กขึ้นมา เรามาทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนทัศนะคติต่อกีฬาเพาะกายกันดีกว่าครับ
    
     อันดับแรก     ทำใจให้รักมัน
     หลายๆคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับกีฬาเพาะกายว่าควรจะเริ่มเล่นเมื่ออายุเท่าไหร่ดี เล่นแล้วจะทำให้ตัวเตี้ยไหม ไม่อยากตัวใหญ่เกินไป กลัวว่าถ้าหยุดเล่นแล้วจะทำให้อ้วนขึ้น ฯลฯ    หลายๆคำพูดเหล่านั้นเป็นเหตุผลที่ใช้อ้าง ว่าร้ายกีฬาเพาะกายซึ่งมาจากความไม่รู้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกีฬาเพาะกายสักนิดเดียว  การที่เราจะเริ่มเพาะกายนั้นอันดับแรกต้องทำความเข้าใจกับมัน (ต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ)  ทำความเข้าใจว่าจริงๆแล้วการเพาะกายก็คือการสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่โตแข็งแรง ซึ่งจะแตกต่างไปจาก fitness ซึ่งเน้นรูปร่างที่สมส่วนกระชับสวยงาม
     ด้านการออกกำลัง กีฬาเพาะกายมุ่งเน้นไปที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความใหญ่โตของมัดกล้าม ดังนั้นนักเพาะกายส่วนใหญ่จะใช้ลูกน้ำหนักที่หนักมากๆเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่โต แต่  fitness นั้นเน้นที่รูปร่างกระชับสมส่วน การออกกำลังจึงเป็นการเน้นกระชับ ใช้ลูกน้ำหนักเบาๆเน้นการทำแอโรบิคเพื่อเผาผลาญพลังงาน
     ด้านอาหารการกิน นักเพาะกายสามารถกินได้ทั้งวันกินได้เยอะและมีความสุขกับการกิน โดยที่ fitness นั้นต้องคอบควบคุมอาหารต้องห้ามใจตนเองกินอาหารเป็นเวลาเพื่อป้องกันแคลอรี่ที่จะเกินมา
     เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคุณจะเลือกแบบไหน อยากเป็นนักเพาะกายที่มีร่างกายงดงามไปที่ไหนมีแต่ผู้คนเหลียวมองเพราะร่างกายที่งดงามดูสมชาย หรือจะเป็นฟิตเนสแมนที่ไปไหนมาไหนก็ไม่มีใครรู้ต่อให้คุณมีกล้ามท้องที่เรียงกันสวยงามแค่ไหน แต่คุณไม่ได้ถอดเสื้อเดินห้างนี่ แล้วใครจะรู้ละว่าคุณมีกล้ามท้อง
     เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่ากีฬาเพาะกายมันทำให้คุณดูดีสมชายชาตรีอีกทั้งยังทำให้แข็งแรงแล้ว อันดับต่อมาคุณควรเริ่มศึกษาถึงมัดกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆรวมถึงท่าเล่นที่ใช้ในการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนนั้นด้วย(จะพูดถึงในบทความต่อไปครับ)  โดยในช่วงแรกคุณควรใช้น้ำหนักเบาก่อนเพื่อศึกษาและเรียนรู้ท่าให้ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นการป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้น้ำหนักที่หนักเกินไปด้วย ขอให้คุณทำมันอย่างช้าๆและมีสมาธิเสมอเพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อที่กำลังบริหารนั้นแล้วคุณจะพบว่าร่างกายของคุณกำลังเปลี่ยนไปโตวันโตคืน

รู้จักกับกีฬาเพาะกาย(Bodybuilding)กันก่อน

       ก่อนที่เราจะมาเริ่มเล่นกีฬาเพาะกายกันนั้น เราควรจะทราบถึงประวัติของกีฬาเพาะกายกันบ้างสักนิดเพื่อให้ทราบถึงประวิติและพัฒนาการของกีฬาเพาะกายว่าในอดีตกับปัจจุบันนั้นแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน     ในอดีต
เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับเล่นเพาะกายนั้นไม่ได้มีครบครันเหมือนปัจจุบัน แต่นักเพาะกายยุคนั้นก็ยังสามารถสร้างกล้ามเนื้อให้สวยงามและใหญ่โตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารกระตุ้นใดๆ 
เพาะกาย เป็นหนึ่งในกีฬาชนิดหนึ่งที่เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อโดยการฝึกน้ำหนัก, การเพิ่มปริมาณอาหาร, และการพักผ่อน ผู้ที่เล่นกีฬาเพาะกายนี้จะเรียกว่านักเพาะกาย


ยูจีน แซนดาว ในปีค.ศ.1894
bodybuilding
ประวัติกีฬาเพาะกาย
ยุคแรก
ยุคแรกของกีฬาเพาะกายจะอยู่ระหว่างปีค.ศ.1880 ถึง 1930
เพาะกาย เป็นกีฬาที่เริ่มต้นประมาณปลายศตวรรษที่ 19 โดยได้รับการสนับสนุนจากชายชาวเยอรมันชื่อ ยูจีน แซนดาว (Eugene Sandow) ผู้ที่ในปัจจุบันเรียกว่า “บิดาแห่งกีฬาเพาะกายยุคใหม่” เขาได้บุกเบิกกีฬาชนิดและได้ความช่วยเหลือในการสร้างเวทีแสดงจาก Florenz Ziegfeld ซึ่งเป็นผู้จัดการของเขา นายแซนดาว ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก หลังจากนั้นเขาก็ทำธุรกิจหลายอย่างทำให้เขามีชื่อเสียง และเขาก็ได้ทำการตลาดโดยใช้ชื่อของเขาเอง ทำให้เขายิ่งโด่งดังมากขึ้น และเขาก็ได้รับความนิยมจากเครื่องออกกำลังกายที่เขาทำขึ้นมาเองอีกด้วย
ยูจีน แซนดาว ได้จัดการแข่งขันเพาะกายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  14 กันยายน1901 โดยเรียกการแข่งครั้งนั้นว่า “Great Competition” โดยจัดการแข่งขันที่ Royal Albert Hall ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีกรรมการตัดสินคือ Sandow, Sir Charles Lawes, และ Sir Arthur Conan Doyle โดยการแข่งครั้งนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก รางวัลในครั้งนั้นจะเป็นรูปหล่อสีทองแดงของนายแซนดาวเอง แกะสลักโดย Frederick Pomeroy โดยผู้ชนะในครั้งนั้นคือ William L. Murray จาก Nottingham ประเทศอังกฤษ โดยในปัจจุบันการแข่งขันที่มีเกียรติมากที่สุดคือ Mr. Olympia และตั้งแต่ปี 1977 ผู้ชนะจะได้รับรางวัลรูปหล่อสีทองแดงของนายแซนดาวเช่นเดียวกัน
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 1904 ได้มีการแข่งเพาะกายครั้งใหญ่ที่ Madison Square Garden ในกรุงนิวยอร์กโดยมีผู้ชนะคือนาย Al Treloar และเขาได้ถูกประกาศว่าเป็นคนที่พัฒนาร่างกายดีที่สุดในโลก และยังได้รับรางวัล 1,000 ดอลลาร์อีกด้วย ต่อมา 2 สัปดาห์หลังจากนั้น โทมัส เอดิสันก็ได้สร้างหนังเกี่ยวกับการโพสของ Al Treloar และยังทำหนังอีก 2 เรื่องเกี่ยวกับนายแซนดาวในไม่กี่ปีก่อน ทำให้นั่นเป็นครั้งแรกที่มีการนำนักเพาะกายเข้าไปในภาพยนตร์ ในช่วงต้นศตวรรษ 20 นาย Bernarr Macfadden และ Charles Atlas เริ่มต้นที่จะส่งเสริมกีฬาเพาะกายไปทั่วโลก นาย Alois P. Swoboda ได้บุกเบิกในอเมริกาและเป็นคนที่นาย Charles Atlas กล่าวถึงความประสบความสำเร็จของเขาว่า “ทุกๆ สิ่งที่ผมรู้ ผมรู้มาจาก A. P. (Alois) Swoboda”
นักเพาะกายที่สำคัญในยุคแรกในช่วงปี 1930 คือ Earle Liederman (ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเพาะกายในยุกแรก) , Seigmund Breitbart (นักเพาะกายชาวยิวที่มีชื่อเสียง) , Georg Hackenschmidt, George F. Jowett, Maxick (ผู้บุกเบิกศิลปะในการโพสกล้ามเนื้อ) , Monte Saldo, Launceston Elliot, Sig Klein, Sgt. Alfred Moss, Joe Nordquist, Lionel Strongfort , Gustav Fristensky (แช็มป์ชาวเช็ค) , และ Alan C. Mead, ผู้ที่เป็นผู้ชนะการแข่งเพาะกายถึงแม้ว่าจะเสียขาข้างหนึ่งในสงครามโลก
ยุคทอง
ในช่วงเวลาประมาณปี 1940 ถึง 1970 มักจะถูกเรียกว่า ยุคทอง ของกีฬาเพาะกาย เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงในหลายอย่าง กีฬาเพาะกายก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายและมีการจัดการแข่งขันมากขึ้น
ในยุคนี้จะมีสถานที่สำคัญคือ Muscle Beach ใน Venice, ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย วึ่งในสมัยนั้นจะมีนักเพาะกายจำนวนมากรวมกันอยู่ที่นั่น โดยนักเพาะกายที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ สตีฟ รีฟฟ์ (Steve Reeves) (นักแสดงเรื่อง เฮอร์คิวลิส) , เร็ก ปาร์ค (Reg Park) , จอห์น กริเม็ค (John Grimek) , ลารี่ สก๊อทท์ (Larry Scott) , บิลล์ เพิร์ล (Bill Pearl) , และ Irvin "Zabo" Koszewski
Amateur Athletic Union (AAU) ได้มีการใส่การแข่งขันกีฬาเพาะกายรวมกับกีฬายกน้ำหนักในปี 1939 และในปีต่อมาการแข่งขันได้เปลี่ยนชื่อเป็น AAU Mr. America และประมาณกลางทศวรรษที่ 1940 นักเพาะกายส่วนใหญ่ไม่พอใจ AAU ตั้งแต่พวกเขาสนใจกีฬายกน้ำหนักซึ่งได้เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกมากกว่า ด้วยเหตุนี้ 2 พี่น้อง เบน ไวเดอร์ (Ben Weider) และโจ ไวเดอร์ (Joe Weider) จึงได้ก่อตั้ง International Federation of BodyBuilders (IFBB) และจัดตั้งการแข่งขันขึ้นมาเองเรียกว่า IFBB Mr. America ที่เปิดนักกีฬามืออาชีพมาลงแข่งได้
ในปี 1950 ในอีกสมาพันธ์หนึ่ง คือ National Amateur Bodybuilders Association (NABBA) ได้เริ่มต้นการแข่งขัน NABBA Mr. Universe ในอังกฤษ และการแข่งขันหลักอื่นๆ Mr. Olympia ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1965 และตอนนี้เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติสูงสุดในวงการเพาะกาย
ในช่วงแรกนั้นมีการแข่งขันเฉพาะเพาะกายชายเท่านั้น ทาง NABBA จึงมีการใส่ตำแหน่ง Miss Universe ลงไปในปี 1965 (ในที่นี้หมายถึงเพาะกายหญิง) และ Ms. Olympia ซึ่งเริ่มต้นในปี 1980
หลังจากทศวรรษที่ 1970
ในทศวรรษที่ 1970 วงการเพาะกายต้องยกย่องให้กับอาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์และภาพยนตร์ปี 1977 เรื่อง Pumping Iron โดยในช่วงเวลานี้ IFBB เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและทำให้ AAU ต้องรั้งท้าย
National Physique Committee (NPC) ได้ถูกก่อตั้งในปี 1981 โดย Jim Manion คนที่เป็นประธานของกลุ่ม AAU Physique Committee ในช่วงนี้ NPC กลายเป็นองค์กรเพาะกายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอเมริกา และเป็นกลุ่มย่อยของ IFBB ในช่วงปลาย 1980s และช่วงต้นของ 1990s AAU เริ่มทรุดลง ในปี 1999 กรรมการของ AAU มีมติให้หยุดกิจการเกี่ยวกับกีฬาเพาะกาย
ในยุคนี้จะเริ่มเห็นการใช้ Anabolic steroid ซึ่งใช้ในทั้งเพาะกายและกีฬาอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับการใช้ยานี้ IFBB จึงจะมีการตรวจร่างกายหาสารนี้ในร่างกายรวมถึงสารอื่นๆ แต่นักเพาะกายส่วนใหญ่ยังใช้ anabolic steroid ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม Congress of the United States ได้มีการควบคุมการใช้ยาชนิดนี้ในปี 1990 และมีการจัดหมวดหมู่ให้อยู่ใน Schedule III of the Controlled Substances Act (CSA)
ในปี 1990 ผู้ก่อตั้งบริษัทมวยปล้ำ Vince McMahon ได้ก่อตั้งองค์กรเพาะกายใหม่ขึ้นมาชื่อ World Bodybuilding Federation (WBF) นาย McMahon ได้นำการแสดงแบบมวยปล้ำมาผสมกับกีฬาเพาะกาย ทำให้กีฬาเพาะกายเริ่มสั่นคลอน ส่วนการตอบโต้การกระทำของ WBF นั้น Ben Weider ประธานของ IFBB ได้ทำการขึ้นบัญชีดำกับนักเพาะกายที่ได้เซ็นสัญญากับ WBF และในปีนั้นเอง ทาง IFBB ได้ระงับการตรวจสอบสาร anabolic steroid ในนักกีฬาเนื่องมีการใช้กันเป็นจำนวนมากทำให้มีปัญหาในการตรวจสอบ ในปี 1992 นาย Vince McMahon จัดการตรวจสอบการใช้ยาในนักกีฬา WBF เนื่องจากเขาและ WWF กำลังอยู่ภายใต้การสืบสวนจากรัฐบาลกลางเนื่องจากข้อหาการค้าขาย anabolic steroid โดยผลสุดท้ายนั้นคือในการแข่งขันของ WBF ในปี 1992 โดยกรรมการผู้บริหารของ McMahon เห็นพ้องต้องกัน McMahon จึงทำการยุบ WBF ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 เหตุผลในการยุบครั้งนี้เป็นไปได้ว่ามาจากการขาดรายได้จากการ pay-per-view broadcasts จากการแข่งขันของ WBF และจากการขาดรายได้จากการขายนิตยสาร Bodybuilding Lifestyles (ในตอนหลังกลายเป็น WBF Magazine) และจากความเสียหายจากด้านอื่นๆ อีก แต่อย่างไรก็ตามการยุบ WBF ในครั้งนี้ก็มีผลต่อ IFBB เช่นกัน แต่สุดท้ายโจ ไวเดอร์ก็ยอมรับนักเพาะกายจาก WBF กลับมา IFBB อีกครั้ง
ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทาง IFBB พยายามที่จะทำให้กีฬาเพาะกายเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกให้ได้ และได้จำนวนสมาชิกของ IOC ได้เต็มที่ในปี 2000 แต่ผลสุดท้ายทางคณะกรรมการโอลิมปิกก็ไม่ได้บรรจุกีฬานี้ไว้โดยให้เหตุผลว่า “การเพาะกายนั้นขณะแข่งขันไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร นอกจากมาโพสร่างกายให้กรรมการเห็นเท่านั้น” แต่นักกีฬาก็ยังแย้งว่า”ก่อนที่พวกเขาจะมาแข่งขันนั้นจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีทั้งใจและกาย ฉะนั้นเพาะกายควรได้ถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิก”
ในปี 2003 โจ ไวเดอร์ได้ขาย Weider Publications ไปให้ American Media ซึ่งเป็นเจ้าของ The National Enquirer เบน ไวเดอร์ยังคงเป็นประธาน IFBB ในปี 2004 ผู้ส่งเสริมการแข่งขัน Wayne DeMilia ได้รับตำแหน่งในการส่งเสริม Mr. Olympia ต่อไป
credit : http://th.wikipedia.org/

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More